วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2552

-การฝึกอบรมวันที่ 22 เมษายน

การสร้างภาพจากภาพต้นแบบ
-คลิกขวาที่ Layer Background เลือก Duplicate Layer หรือ กดดับเบิ้ลคลิก

การเปลี่ยนภาพสี ให้เป็นภาพขาว-ดำ
-ไปที่ Image -> Adjustment -> Desaturate (Shift+Ctrl+U)
*** .ให้ทำที่ภาพ background ต้นฉบับเลย ***

การทำภาพที่เรา Selection ไว้แล้วเพื่อทำให้เป็นขาว-ดำ
-พอเปลี่ยน Background เป็นขาว-ดำ แล้ว ไปที่ Mode -> Grayscale -> Don't Merge -> Discard
*** Don't Merge คือการไม่รวมภาพ Layer ต่างๆ ที่เรา Selection เอาไว้มารวมกัน เพื่อไม่ให้มันเป็นสีเดียวกันหมด ***

การเปลี่ยนภาพขาว-ดำ เป็นภาพสี
-ต้องกำหนดโหมดสีด้วย
-Image -> Mode -> RGB Color
-Don't Merge
-Image -> Adjustment -> Levels...
-เลือก Channel เพื่อเลือกโทนสีที่จะผสม
-เวลาเลือกสีให้เลือกโหมดสี แล้วเลื่อนเฉพาะจุดตรงกลาง

การรวมรูป Merge
-เปิดไฟล์รูปที่ต้องการ Merge รูปทั้งหมด
-เลือก File -> Automate -> Photomerge + OK
-เมื่อรูป Merge เสร็จแล้วให้คลิก OK
-ทำการ Crop โดยเลือก Rectangular Marquee Tool -> ลากกรอบที่รูป
-เลือก Image -> Crop -> จะได้รูปที่ Merge เรียบร้อยแล้ว

การทำภาพ Jigsaw
-เลือกภาพที่ต้องการ
-เลือก Styes -> Image Effects
-เลือก Puzzle
หรือ
-Filter -> Texture -> Texturizer -> Load Texture
-โหลดที่ C:/ -> Programfile -> Abobe Photoshop CS3 -> preset -> Texture -> Puzzle

การตัดภาพ
-เลือก Window -> Paths
-ไปที่ Paths เป็น Work Path
-คลิก ที่ภาพตัดไปจนวนรอบ
-คลิกขวาที่ภาพ เลือก Make Selection กด OK จะเห็นเส้นวิ่งวน
-ไปที่ Edit -> Copy
-สร้าง Layer ใหม่
-Paste ภาพใส่ Layer ที่สร้างใหม่

การออกแบบหัวเว็บ
-ใช้ Rectangular marquee Tool (M) เพื่อสร้างกรอบที่ต้องการ
-คลิกขวาที่กรอบ เลือก Deselect
-สามารถเปลี่ยนรูปร่างได้ตามต้องการ เช่น Filter -> Distort -> Shear
-นำภาพที่ต้องการมาวางใส่
-หากต้องการให้ภาพไหนซ้อนอยู่ข้างหลังให้กด Alt ค้าง+คลิก 1ที ใต้ภาพ ภาพจะไปอยู่หลังกรอบ

-การฝึกอบรมวันที่ 21 เมษายน (เขียนย้อนหลัง)

การใช้ Transform เพื่อปรับเพื่อปรับเปลี่ยนพื้นที่การใช้ Selection
คลิกที่คำสั่ง Edit -> Transform
- Again กลับสู่รูปแบบเดิมก่อนหน้านี้ 1 ขั้น
- Scale ปรับเปลี่ยนแบบ Scale ตามแนวตั้ง แนวนอนและแนวทแยง
- Rotate หมุนพื้นที่ที่เลือก
- Skew บิดเกลียวพื้นที่ที่เลือก
- Distort การบิดพื้นที่เลือก
- Perspective ปรับขนาดของพื้นที่ที่เลือกให้มีลักษณะการมองแบบ Perspective (มีมิติ กว้าง ยาว ลึก)
- Rotate 180 CW หมุน 180 องศา
- Rotate 90 CW หมุน90 องศา ตามเข็ม
- Rotate 90 CCW หมุน90 องศา ทวนเข็ม
- Flip Horizontal กลับจากซ้ายเป็นขวา
- Flip Vertical กลับจากบนลงล่าง

การใช้งาน Type Tool
-การสร้างข้อความแต่ละครั้งโปรแกรมจะสร้าง Layer ใหม่อัตโนมัติ ลักษณะข้อความจะมี 2 รูปแบบ คือ
1. แบบ Point Type จะมีรูปแบบเป็นคำหรืออักษรสั้นๆ 1 บรรทัด โดยกำหนดจุดเริ่มต้นของข้อความบนชิ้นงาน โปรแกรมจะสร้าง Type Layer ขึ้นมา และสามารถพิมพ์ข้อความลงไปได้ เมื่อพิมพ์ข้อความเรียบร้อยให้กด Enter
2. แบบ Paragraph Type จะมีรูปแบบเป็นข้อความที่มีหลายบรรทัด โดยจะอยู่ในขอบเขตที่กำหนดเดียวกัน (Bounding box) โดยกำหนดจุดขอบเขตของข้อความที่ใส่ โปรแกรมจะสร้าง Type Layer ขึ้นมาและสามารถพิมพ์ข้อความและจัดเป็น Paragraph ได้จาก paragraph Palette เมื่อพิมพ์ข้อความเรียบร้อยให้กด Enter

การฝึกอบรมวันที่ 20 เมษายน

Adobe Photoshop CS3 Extended
-Adobe Photoshop CS3 เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่รวบรวมเครื่องมือสำหรับตกแต่งภาพประสิทธิภาพสูง เพื่อการทำงานระดับมาตรฐานสำหรับนักออกแบบมืออาชีพที่ต้องการสร้างสรรค์งานกราฟฟิคที่โดดเด่น ทั้งงานที่ใช้บนเว็บและสิ่งพิมพ์

เครื่องมือต่างๆใน Toolbox
*** ปุ่ม Toolbar ที่มีเครื่องหมายสามเหลี่ยมเล็กๆอยู่ด้านล่างขวา เมื่อกดปุ่มสามเหลี่ยมดังกล่าว โปรแกรมจะแสดงเครื่องมืออื่นๆออกมาอีก ***
-Marquee Tool เป็นการเลือกแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า,วงกลม,แถวขนาด 1 pixel หรือคอลัมน์ 1 pixel
-Move Tool ใช้เพื่อเลื่อนส่วนที่เลือก หรือใช้เลื่อน Layer และ Guide ต่างๆ
-Lesso Tool จะใช้เพื่อสร้าง Selection แบบอิสระ,แบบ Polygonal (ตามจุดที่คลิก) และ Magnetic (ดึงเข้าหาขอบรูปภาพ)
-Magic Wand Tool ใช้เลือกพื้นที่บริเวณที่มีสีเดียวกัน
-Crop Tool ใช้ในการเลือกบางส่วนของรูปภาพ
-Slice Tool ใช้ในการสร้าง Slice
-Slice Selection Tool ใช้เลือก Slice ที่คุณสร้างมา
-Healing Brush Tool ใช้ในการระบายสี เพื่อซ่อมแซมรูปภาพให้สมบูรณ์แบบ
-Patch Tool ใช้เฉพาะในบริเวณที่เลือกไว้เท่านั้น เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ของรูปภาพ โดยใช้ลวดลาย หรือใช้ส่วนที่เลือกในภาพเป็นต้นฉบับ
-Brush Tool ใช้ในการวาดเส้น Brush ต่างๆ
-Pencil Tool ใช้ในการวาดเส้นที่มีขอบชัดเจน
-Clone Stamp Tool ใช้ก๊อปปี้รูปโดยอาศัยรูปภาพต้นฉบับ
-Pattern Stamp Tool ใช้เพื่อวาดรูปโดยใช้บางส่วนของรูปภาพที่มีอยู่เป็นต้นฉบับ
-History Brush Tool ใช้กลับคืนรูปภาพเดิมจาก State หรือ Snapshot ของรูปเดียวกัน
-Art History Brush Tool ใช้ในการวาดรูปจาก State หรือ Snapshot ของรูปนี้โดยอาศัยรูปแบบของ Stoke ที่มีสไตล์หลากหลาย ช่วยให้สไตล์ ของภาพดูต่างออกไป
-Eraser Tool ใช้ลบรูปภาพหรือลบบางส่วนของพิกเซลส์และทำการเก็บส่วนต่างๆเป็น State ต่างๆใน History Palette
-Magic Eraser Tool ใช้ลบรูปภาพบริเวณที่มีสีเดียวกันให้กลายเป็นพื้นที่โปร่งใส (Transparent) โดยการคลิกเพียงครั้งเดียว
-Background Eraser Tool ใช้ลบรูปภาพบางส่วนให้กลายเป็นพื้นที่โปร่งใสโดยการลากเมาส์
-Gradient Tools ใช้เพื่อไล่สีระหว่างหลายๆสี ในแบบต่างๆ Straigh-line,Radial,Angle,Reflection และ Diamond
-Paint Bucket Tool ใช้ในการเติมสี Fill ในบรเวณที่เป็นสีเดียวกันด้วยสีของ Foreground
-Burn Tool ใช้ลดความสว่างทำให้รูปภาพดูมืดลง
-Sponge Tool ใช้เปลี่ยนสีในส่วนต่างๆของรูปภาพ โดยการปรับค่าความเข้มสี
-Path Selection Tool ใช้เพื่อเลือก Shape หรือ Path เพื่อแสดง Anchor Paint,Direction Line และ Direction Paint
-Type Tool ใช้ในการสร้างตัวหนังสือลงบนรูปภาพ
-Type Mask Tool ใช้สร้าง Selection เป็นรูปร่างตัวหนังสือ
-Pen Tools ใช้ในการลากเส้น Path ซึ่งสามารถตัดโค้งตามรูปภาพได้
-Custom Shape Tool ใช้เลือกรูปภาพที่มีรูปร่างเฉพาะจาก Custom Shape List
-Animations Tool ใช้เขียนโน๊ต หรือแนบเสียงไปกับรูปภาพได้
-Eyedropper Tool ใช้ในการดูดสีจากรูปภาพเพื่อใช้เป็นต้นแบบของสีกับงานชิ้นอื่นๆ
-Measure Tool วัดระยะห่าง,ตำแหน่ง และมุมขององศาระหว่างภาพ
-Hand Tool ใช้เลื่อนภาพที่อยู่ในหน้าต่างเดียวกัน
-Zoom Tool ใช้ในการขยายและย่อส่วนการแสดงภาพบนหน้าจอ

การสร้างไฟล์ใหม่
-คลิกที่ File ที่แถบ Menu bar จากนั้นเลือก New
-จะปรากฎ Dialog สำหรับกำหนดคุณสมบัติต่างของไฟล์ภาพดังนี้
-Name คือ ชื่อของชิ้นงาน
-Preset คือ ขนาดงานที่โปรแกรมกำหนดมาให้ ซึ่งมีหลากหลายขนาดให้เลือก หรือสามารถกำหนดเองจากช่อง Width และ Height ได้
-Width คือ ขนาดความกว้างของงาน (จากซ้ายไปขวา) โดยกำหนดหน่วยและขนาดได้เอง
-Heigth คือ ขนาดความสูงของงาน (จากบนลงล่าง) โดยกำหนดหน่วยและขนาดได้เอง
-Resolution คือ ความละเอียดของภาพ โดยใส่ตัวเลขค่าความละเอียดของภาพ
-Color Mode คือ โหมดสีของภาพ ซึ่งประกอบด้วย โหมดสี Bitmap,Grayscale,RGB Color,CMYK Color,Lab Color
-Background Contents คือสีพื้นหลังของภาพ เมื่อเริ่มชิ้นงานใหม่
• White กำหนดให้สีพื้นหลังเป็นสีขาว
• Background Color กำหนดให้สีพื้นหลังเป็นสีเดียวกับ Background
• Transparent ไม่มีพื้นหลัง

การกำหนดพื้นที่เพื่อแก้ไขและตกแต่งภาพ (Selection)
Marquee Tool เป็นเครื่องมือสำหรับการกำหนด Selection โดยคลิกเลือก Marquee Tool จาก Tool box จะมีให้ลเอกใช้งาน 4 รูปแบบตามความเหมาะสม
-Rectangular Marquee Tool สำหรับสร้าง Selection เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า และสี่เหลี่ยมจัตุรัส
-Elliptical Marquee Tool สร้าง Selection เป็นวงกลม หรือลงรี
-Single Marquee Tool สร้าง Selection เป็นพื้นที่รูปเส็นตรงในแนวนอน ความกว้าง 1 pixel
-Single Columm Marquee Tool สร้าง Selection เป็นรูปเส้นตรงในแนวตั้ง ความกว้าง 1 pixel

คำสั่งพื้นฐานของ Selection
• All กำหนดพื้นที่ Selection โดยใช้พื้นที่ของรูปภาพทั้งหมด
• Deselect ยกเลิกการกำหนดพื้นที่ Selection
• Reselect ย้อนกลับไปกำหนดพื้นที่ Selection หลังจากได้ยกเลิกไป
• Inverse เป็นการเปลี่ยนพื้นที่ของ Selection จากที่กำหนดไว้ให้เป็นพื้นที่ตรงข้าม

การฝึกอบรมวันที่ 19 เมษายน (เขียนย้อนหลัง)

การทำ Mask
-สร้าง Layer ใหม่ใน Scene ที่ต้องการ Mask
-วาดรูปร่างของ Mask ที่ต้องการ เช่น วงกลม หรือ สี่เหลี่ยม
-คลิกขวาที่ Layer สร้างมา เลือก Mask
-เลือกรูป(Layer) ที่ต้องการMaskไว้โดยการคลิกเม๊าท์ที่Layerที่จะMask แล้วลากไปไว้ที่Layer Mask
*** Layer Mask จะเป็นรูปสีฟ้า ***
-Insert Keyframe ในเฟรมที่ต้องการ แล้ว ย้าย รูปของ Mask ไปตำแหน่งที่ต้องการให้ไป
-คลิกขวาที่เฟรมของ Mask เลือก Create Motion Tween
*** สามารถให้ mask เลื่อนไปได้หลายตำแหน่ง โดยInsert Keyframe ในเฟรมที่ต้องการ แล้ว ย้ายรูปของ Mask ไปตำแหน่งที่ต้องการให้ไปคลิกขวาที่เฟรมของ Mask เลือก Create Motion Tween ไปเรื่อยๆ ***

การทำให้ตัวหนังสือเปลี่ยนรูปร่าง
-เขียนคำที่ต้องการใน Scene โดยใช้คำสั่ง Text Tool (T) ในเฟรม1
-ไปที่ Modify กด Break Apart ไปจนกว่าจะกดไม่ได้
*** Break Apart คือ การทำให้ตัวหนังสือหรือรูปภาพ เปลี่ยนเป็นวัตถุ เพื่อที่จะสามารถเป็นสภาพได้***
-Insert Keyframe ในตำแหน่งที่ต้องการให้ตัวหนังสือเริ่มเปลี่ยน
-ลบคำแรกออก แล้ว ใส่คำใหม่ที่ต้องการแทน
-ไปที่ Modify กด Break Apart ไปจนกว่าจะกดไม่ได้
*** สิ่งที่ต้องการให้เปลี่ยนรูปร่างต้องกด Break Apart จนกดไม่ได้ก่อนเสมอ ***
-คลิกเฟรมที่ต้องการให้ตัวหนังสือเริ่มเปลี่ยน แล้วไปที่ Properties ด้านล่างตรงคำสั่ง Tween ให้เลือก เป็น Shape (สังเกตุตรงเฟรม จะเป็นสีเขียว)
*** ในการ Insert Keyframe เพื่อใส่คำใหม่ ควรเว้นเฟรมว่างไว้สักหน่อยเพื่อให้สามารถเห็นรูปร่างของคำก่อนจะเปลี่ยนได้ชัดเจนขึ้น เช่น จากเฟรม1 แล้ว Insert Keyframe เฟรมที่5 เพื่อให้คำที่1ค้างไว้สักพัก แล้ว Insert Keyframe เฟรมที่15 ค่อยใส่คำที่2 แล้ว Shape เฟรมที่ 5-15 แล้ว Insert Keyframe เฟรมที่20 เพื่อให้คำที่2 ค้างไว้สักพัก ***

การทำให้ตัวหนังสือเปลี่ยนเป็นรูปภาพ , รูปภาพเป็นเป็นตัวหนังสือ , หรือภาพเปลี่ยนเป็นภาพ
-ทำเหมือนการทำตัวหนังสือด้านบน

การทำ Drop Shadow หรือ การทำเงาให้ตัวหนังสือ
-ใช้คำสั่ง Selection Tool (V) คลิกที่ตัวหนังสือที่ต้องการทำ
-ที่คำสั่ง Filter ด้านล่าง กด +
-เลือก Drop Shadow
-เลือก แสง เงา และ ทิศทางของเงาตามต้องการ
Blur X = แกน X
Blur Y = แกน Y
Strength = ความคมชัด Angle = องศา
Quality = ความละเอียด Distance = ระยะห่าง
*** เมื่อทำให้มีเงาที่ตัวหนังสือแล้วจะ Break Apart ไม่ได้ ไม่งั้นจะหายหมด จึงให้ คลิกขวาที่เฟรมแล้วCopy Frames แล้ว Insert Keyframe ในเฟรมถัดไป แล้วคลิกขวา Paste Frame มาก่อน แล้วจึง Break Apart ในเฟรมนี้แทน ***

การใส่เพลงประกอบ
-เพิ่ม Layer ของ เพลงลงไป
-ต้องการให้เพลงเริ่มเล่นที่เฟรมไหน ให้เริ่ม Insert Keyframe ตรงนั้น
-แล้วไปที่ File -> Import เพลงที่ต้องการเข้ามา

การทำให้สีเปลี่ยนเป็นจางลง แล้วเข้มขึ้น
-สร้างภาพที่ต้องการใน Library ขึ้นมา โดยใช้คำสั่ง Insert -> New Symbol (Ctrl+F8) ใช้ Type เป็น Graphic
-นำภาพที่วาดมาใส่ลงใน Scene
-Insert Keyframe เฟรมที่ต้องการ แล้วใช้ Selection Tool (V) คลิกที่ภาพ แล้วไปที่ Properties ด้านล่าง ตรง คำสั่ง Color ให้เลือกเป็น Alpha แล้วเลือกเปลี่ยน % ของสีด้านหลัง (ความเข้มของสี)
-กด Creats Motion Tween

-การฝึกอบรมวันที่ 18 เมษายน (เขียนย้อนหลัง)

การวาดไข่ให้ร้าว แล้วแตก
-วาดไข่มา 1 รูป
-ใช้ Line Tool (N) วาดรอยร้าวผ่านไข่
** ตรง option ให้เอา Object Drawing (J) ออก ไม่งั้นจะไม่สามารถแบ่งไข่ได้
-จากนั้นเลือก Free Transform Tool แล้วคลิกส่วนบนของไข่จะที่แบ่ง
** จะสังเกตุได้ว่าหากคลิกเฉพาะส่วนบนของไข่ได้ แสดงว่าสามารถแบ่งไข่ได้
-จากนั้นให้ลากจุดศูนย์กลางของรูป ไปที่มุมด้านล่าง ซ้ายหรือขวา ที่จะให้เป็นแกนที่ไข่จะหมุนไป
-กด Shiftค้าง แล้วคลิกที่เส้นขอบของไข่ 1 ครั้ง แล้วปล่อย Shift ลแวลากไปยังจุดเดียวกับจุดศูนย์กลางที่ลากไปเมื่อกี้
-จะสามารถกดหมุนส่วนบนของไข่ได้

การสร้างรูปที่ขยับได้
-ให้สร้าง ส่วนที่ต้องการขยับแต่ละส่วน โดยใช้คำสั่ง Insert -> New Symbol (Ctrl+F8) ใช้ Type เป็น Graphic
-โดยแยกส่วนที่ต้องการขยับแต่ละส่วนไว้คนละ Layer เช่น จะสร้างนกบิน ให้สร้าง Layerตัว Layerปีก โดยปีกควรสร้าง ไว้อย่างน้อย2-3Layer คือปีกตอนอยู่ด้านบน ปีกตอนขยับมากลางตัว และปีกขยับไปด้านล่างตัว เป็นต้น
-เมื่อสร้างส่วนต่างๆที่ต้องการครบแล้ว ให้นำมารวมกันในLayerใหม่
-โดยใช้คำสั่ง Insert -> New Symbol (Ctrl+F8) ใช้ Type เป็น Movie Clip
-ใส่ส่วนที่จะขยับรวมกันในLayer เดียวกัน เช่น Insert Keyframe เฟรมที่1 แล้วใส่ปีกบน แล้ว
Insert Keyframe ในเฟรมที่5 แล้วลบปีกบนออก เอาปีกกลางใส่แทน แล้ว Insert Keyframe ในเฟรมที่10 แล้วลบปีกกลางออกเอาปีกล่างใส่ แล้ว Insert Keyframe เฟรมที่15 แล้วลบปีกล่างออก ใส่ปีกบน ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนกล่าวจะพอใจ
-ใส่ส่วนอื่นๆเข้ามา เช่น ตัว ตา ปาก โดยต้องใส่คนละ Layer
-กด Enter เพื่อดูว่ารูปขยับตามต้องการหรือไม่
***รูปที่ทำออกมาจะเป็น Movie Clip ที่อยู่ใน Library

วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2552

-การฝึกอบรมวันที่ 17 เมษายน

การใช้ Flash8
-การสร้างภาพโดยใช้คำสั่งต่างๆ
-การทำให้ภาพเคลื่อนไหว โดย
-เลือกภาพที่ต้องการให้เคลื่อนไหว แล้วเลือกเฟรมสุดท้ายที่ต้องการ (เช่น เฟรมที่50) แล้วเลือก Insert Keyframe (F6)
-ส่วนภาพที่ไม่ต้องการให้เคลื่อนไหว เช่น ภาพวิว ให้ เลือก Insert Frame (F5)
-จากนั้นกลับมาภาพที่จะเคลื่อนไหว กดคลิกเลือกเฟรมสุดท้ายที่เราต้อง แล้วให้ย้ายตำแหน่งของภาพตามต้องการ
-คลิกระหว่างเฟรมของภาพที่ต้องให้เคลื่อนไหวแล้วคลิกขวา เลือก Create Motion Tween
-กด Ctrl+Enter เพื่อดู
-วิธีทำให้ลูกบอลกลิ้ง - หมุน - เด้ง
การกลิ้ง
-การสร้างลูกบอล ใช้คำสั่ง Over tool (O) ให้กด Shift ค้างด้วยเพื่อให้ลูกบอลกลมเป็นธรรมชาติ และควรใส่สีและลวดลายของบอลด้วย
เพื่อจะได้สังเกตุการหมุนของบอลได้ง่ายขึ้น
-เลือกLayerบอล เลือกProperties ของบอล แล้วคลิกที่เฟรมที่1 ของบอล
-เลือกRotate (การหมุน) ซึ่งโดยปกติจะเป็น Auto
ถ้า CW จะเป็นการหมุนจากซ้ายไปขวา หรือ หมุนตามเข็ม
ถ้า CCW จะเป็นการหมุนจากขวาไปซ้าย หรือ หมุนทวนเข็ม
ค่า Time คือ ความเร็วในการหมุน
** ต้องใส่การหมุนทุกๆจุดที่เป็น Keyframe
การเด้ง
-ในการเด้งของบอลสามารถใช้คำสั่ง Add Motion Guide เพื่อกหนดทิศทางที่ต้องการให้บอลเด้งไปได้ โดยใช้ดินสอวาดเส้นที่ต้องการให้บอลเด้งไป โดยวาดที่ Layer Guide
-จากนั้นไปที่Layerบอล แล้วเลื่อนจุดศูนย์กลางของบอลไปที่ปลายเส้นที่ลากไว้

******* ในการเคลื่อนที่แต่ละภาพ ต้องล๊อกภาพอื่นๆที่ไม่ต้องการย้ายทั้งหมดก่อน ********

วันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2552

-สิ่งที่ได้จากการฝึกอบรม วันที่16 เมษายน

1.การสร้างบล๊อก (Blog)
โดยขั้นตอนการสร้างบล๊อก สิ่งสำคัญคือ E-Mail เราจึงจำเป็นต้องมีอีเมลก่อนโยที่เราสามารถใช้ได้ทั้งของ G-Mail , Hotmail , Yahoomail (จากที่ลอง สามารถใช้ได้หมด) จากนั้นให้เข้าไปสมัครที่ www.blogger.com โดยทำตามขั้นตอน

2.ประเภทของเวปไซด์
ทำให้รู้ว่าเวปไซด์นั้นมี 5 ประเภท และรู้ว่าแต่ละประเภทเป็นอย่างไร แตกต่างกันอย่างไร